สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้มีจริยวัตรอันงดงาม เป็นผู้ที่มีความปรีชาสามารถ รอบรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยและธรรมปฏิบัติ มีญาณหยั่งรู้ มีอภิญญาญาณ เป็นที่ปรากฏแจ้งชัดต่อผู้ที่มีศรัทธาในตัวท่าน และเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงยิ่งของผู้คนทั้งหลาย ตั้งแต่ท่านยังดำรงธาตุขันธ์อยู่จนมาถึงปัจจุบันนี้
เจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้นท่านมีคุณลักษณะต่างๆ มากมายหลายประการ แต่ที่โดดเด่นเป็นพิเศษมี ๓ ประการคือ
ท่านเป็นผู้มีความศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย
ในพระปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ในพระธรรมวินัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ในพระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
กดดู บทสวดธชัคคสูตร*
ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ประพฤติปฏิบัติตามรอยบาทพระศาสดาอย่างแน่วแน่ในเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา
ท่านให้ทานด้วยความเมตตาอย่างไม่มีประมาณ เป็นการให้อย่างเสมอกันในทุกคนทุกสิ่ง ไม่ได้เลือกว่าเป็นมนุษย์หรือสรรพสัตว์ใดๆ
ท่านมีศีลเป็นที่รัก เรียกว่ามีอธิศีล
ท่านเล่าเรียนจนแตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นการสั่งสมอธิปัญญา และปฏิบัติวิปัสสนาธุระ เป็นการเข้าถึงอธิจิต
กดดู ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา*
ท่านเปี่ยมไปด้วยความเมตตาอย่างยิ่ง ต่อผู้คนและสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นความเมตตาที่ให้แก่ทุกชนชั้นวรรณะ ทุกเพศทุกวัย ดั่งสมญานามของท่านว่าพรหมรังสี ท่านเป็นดั่งเช่นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นผู้มีเมตตาอันไม่มีประมาณ มีความกรุณาที่จะนำพามนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวงไปสู่ความพ้นทุกข์
ณ สวนธรรมแห่งนี้ ผู้ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีท่านเป็นแบบอย่าง ในการเดินตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือการมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ มีทาน มีศีล มีการเรียนรู้การปฏิบัติธรรม มีการเจริญภาวนา และมีการเจริญเมตตาภาวนาตามรอยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
Username or email address *
Password *
Remember me Log in
Lost your password?
๑.๑ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ ภาษาบาลี อักษรไทย พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สุตฺต. สํ. สคาถวคฺโค ข้อที่ (๘๖๕)
คลิกอ่านเพิ่มเติม
๑.๒ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ (ฉบับมหาจุฬาฯ) สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ๓. ธชัคคสูตร ว่าด้วยเรื่องยอดธงตอนที่ (๒๔๙)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ (ฉบับมหาจุฬาฯ) อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ๑๐.ทุติยสิกขัตตยสูตร ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒ ข้อ(๙๑)